วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คาบที่ 7 สำหรับมือใหม่สุดๆ

ในบทก่อนหน้า เราอาจจะกล่าวได้ว่า คนที่เข้ามาอ่านย่อมมีความรู้พื้นฐานอยู่แล้ว แต่ถ้าเขาไม่มีล่ะ อืม น่าคิดแฮะ แต่จะให้สอนหมดก็ตายดิ งั้นเอาเฉพาะพื้นๆเลยนะ


เมื่อเปิดโปรแกรมแฟลชขึ้นมา ด้านซ้าย จะเป็นอุปกรณ์สำหรับทำงาน มีพวก ปากกา ดินสอ ถังสี เหมือนโฟโต้ชอป ถ้าไม่เคยใช้โฟโต้ชอป ก็อย่ามาทำแฟลชเลยครับ อ่อ ในเครื่องมือแต่ละอัน เวลาใช้ เราสามารถปรับแต่งค่าต่างๆได้ในบริเวณที่ 4 หัวข้อ properties


จากรูป ผมใช้เครื่องมือสำหรับใส่ตัวอักษร ด้านล่างในส่วน properties ก็จะมีส่วนปรับแต่งให้ใช้งานได้อย่างถูกใจมากขึ้น โอเชนะ


ด้านบน เราเรียกว่า ไทม์ไลน์ (timeline) ไทม์ไลน์นั้น สามารถสร้างเพิ่มซ้อนกันได้คล้ายแผ่นใส เหมือนเลเยอร์ของโฟโต้ชอป แต่ละช่องเล็กๆเรียกเฟรม(frame) ซึ่งก็เหมือนที่อธิบายมาแล้ว คือเฟรมแต่ละเฟรมก็เหมือนแผ่นภาพที่ใส่ภาพลงไป บางเฟรมอาจขยายยาวไปหลายช่อง หรือบางเฟรมอาจมีแค่ช่องเดียวก็ได้ ดังนั้น เฟรมที่จะใส่ภาพ (เฟรมที่มีวงกลมทั้งวงขาววงดำนั่นแหละ) คือเฟรมที่มีภาพใส่อยู่ ส่วนที่ว่างๆ และยาวๆ ก็คือส่วนขยายของเฟรมที่มีภาพใส่ เพราะบางภาพ ไม่อยากทำใหม่ ก็ลากยาวกินหลายๆช่องเลยก็ได้ เวลาโปรแกรมทำงาน ก็จะมองช่องเฟรมทีละช่องไล่จากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง ไปเรื่อยๆ คิดว่าหลายคนคงเคยใช้มาบ้างแล้วล่ะ ถ้าใครไม่เคยก็ลองซะ


ด้านนี้เป็นส่วนที่เรียกว่า library เอาไว้เก็บพวกวัตถุหรือ symbol สามารถสร้างใหม่ได้ อยากเอาลง stage ก็ลากไปวางเลย ปุ่มสร้างอยู่ตรงด้านล่าง จะสร้างโฟลเดอร์เพื่อเก็บให้เป็นสัดส่วนก็ยังได้ ในการสร้างsymbol พอกดแล้ว เราจะสามารถเลือกชนิดของsymbol ได้ด้วย เป็นมุฟวี่คลิ๊ป ปุ่ม แล้วก็กราฟฟิค

สุดท้ายก็ด้านล่าง


มันจะมีแถบอยู่ เราสามารถเลือกได้ ถ้าเราใช้เครื่องมือ กดที่แถบ properties เพื่อจัดการเครื่องมือ เวลาจะเขียนแอคชั่นสคริป ก็กดตรงแถบ Action ในภาพพอกดแล้วมันจะขึ้น action-frame ก็ไม่มีอะไรหรอก มันแค่บอกว่า เรากำลังเขียนแอคชั่นสคริปลงบนเฟรมนั่นเองแหละ

ทีนี้รู้แล้วนะครับว่า ใส่สคริปตรงไหน อืมๆ

คาบหน้า จะเป็นการสอนใช้งานคำสั่งที่พบเห็นบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นเรื่องหลักที่ทุกคนรอคอยกันแล้วล่ะนะ เจอกันใหม่ เร็วๆนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น