วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คาบที่15 สรุปความเข้าใจ

เอาล่ะ ไม่คิดเหมือนกันว่าจะมาถึงคาบที่ 15 ได้ เอาเถอะ งั้นมาสรุปใจความกันหน่อยดีกว่า กันลืม

ก่อนอื่นถามนิด ยังมั่นใจที่อยากจะเรียนแฟลชกันอยู่ไหม ถ้าไม่แล้วกรุณาปิดหน้านี้ไปเลยครับ

........

........

...........

....

โอเค ถือว่ายังอยากรู้ต่อนะ

เรามาเริ่มกันที่ความรู้ความเข้าใจที่ผ่านมากันเลยดีกว่า

แฟลชนั้น คือ โปรแกรมที่สามารถ ทำภาพเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น เมื่อทำได้ เราจึงสามารถทำอะไรต่อมิอะไรได้หลายอย่าง ทั้งเกม สื่อกรสอน อนิเมชั่น 2D จริงๆ แล้ว 3D ก็เริ่มมีเข้ามาแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าคิดจะรู้แฟลชไว้ไม่เสียหาย หลายท่านอาจสงสัยทำไมผมปูพื้นฐานแบบฐานมากๆ หรือบางคนอาจไม่เข้าใจเลย แต่พอเรียนรู้ไป แล้วเข้าใจก็มี ทั้งนี้ ทำก็เพื่อวัดความตั้งใจของคุณๆครับ ว่าเอาจริงไหม เพราะต่อจากนี้ จะเป็นก้าวกระโดดของการให้ความรู้แฟลช เช่นการประยุกต์ใช้ฟังก์ชั่น หรือแม้กระทั่ง การสร้างงานจากความว่างเปล่าหรือจินตนาการ ซึ่งมันนับว่าเลเวลที่ค่อนข้างสูงพอสมควร ใช้ความพยายามเข้าใจสูง แต่ถ้าทำได้ มันก็จะมีประโยชน์มากในการทำภาพเคลื่อนไหวด้วยแฟลชนี้

การเขียนสคริปแฟลช (แอคชั่นสคริป)

การเขียนสคริปแฟลชนั้น นั่นคือ "การสร้างตัวแปร และกำหนดค่าตัวแปรให้รัดกุม โดยสอดคล้องกับเหตุการณ์" และอย่างที่ผมปูพื้นฐานไป ทั้งเรื่องตัวแปร การกำหนดค่ตัวแปร ทั้งยังมีการลองใช้คำสั่งเบื้องต้น รวมถึงยังมีการจำลองและลองเล่นกับเหตุการณ์ด้วย เหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของแฟลชโดยแท้

คำสั่งที่ใช้ในแอคชั่นสคริป 3.0 ที่ใช้มาก และควรศึกษาเพิ่มเติม

stop();
var;
function();
addEventListener();
gotoAndStop();
if();

6 ตัวนี้จะพบว่ามีการใช้งานบ่อยมาก แน่นอน อาจมีเพิ่มเติมจากนี้ แต่ถ้าเรารู้การใช้งานสคริปเหล่านี้ เราก็ทำงานได้แทบจะครอบจักรวาลแล้วล่ะ อาจมีสคริปอื่นที่สามารถย่นการเขียนสคริปให้ั่สั้นลงได้ ซึ่งเราจะศึกษาเป็นกรณีไป เพราะต่อจากนี้ จะเป็นการยกปัญหาที่มีคนถามมาจริงๆ จากบอร์ด TFD และผมจะยกมาตอบในแต่ละกรณีกันเลย

จากนี้ จะเป็นภาคประยุกต์แล้ว หวังว่าท่านที่อยากทำความเข้าใจ ก็ต้องไปหาอ่านเพิ่มเติมด้วยนะครับ เจอกันครั้งหน้าครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น